Top Ad unit 728 × 90

โครงการอุดรโปแตซ
recent

ความเป็นมาของโครงการเหมืองแร่โพแทช จังหวัดอุดรธานี

    รัฐบาลได้ออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมใน พ.ศ. 2523 เชิญให้บุคคลยื่นคำขอสิทธิสำรวจและผลิตแร่โพแทชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบริษัท อะกริโก เคมิคอล จำกัด ได้ยื่นข้อเสนอรับสิทธิดังกล่าว
             พ.ศ. 2527 หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ บริษัท อะกริโก เคมีคอล จำกัด สหรัฐอเมริกา ได้รับสิทธิสำรวจและผลิตแร่โพแทชในจังหวัดอุดรธานี โดยได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทขึ้นตามกฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทยในนาม บริษัท ไทยอะกริโก โปแตช จำกัด เพื่อทำสัญญากับกระทรวงอุตสาหกรรมและกรมทรัพยากรธรณี ซึ่งสัญญามีสาระสำคัญโดยย่อคือ รัฐจะเป็นผู้กำกับการดำเนินการของบริษัท โดยบริษัทและหุ้นส่วนจะต้องร่วมกันจ่ายหุ้นให้รัฐในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 10% โดยที่รัฐไม่ต้องจ่ายเงินลงทุน ทั้งยังมีการชำระเงินให้แก่รัฐบาลตามสัญญาการว่าจ้างและฝึกอบรมคนไทย การมอบทุนการศึกษา และการให้การมีส่วนร่วมของคนไทย ต่อมาบริษัท เอเชีย แปซิฟิค รีซอสเซส จำกัด ประเทศแคนาดา ได้เข้าถือ
หุ้นใหญ่ และเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก บริษัท ไทยอะกริโก โปแตช จำกัด เป็น บริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งมีโครงสร้างผู้ถือหุ้นดังนี้
                                                                    จำนวนหุ้น      ร้อยละหุ้นทั้งหมด
             1.    ผู้ถือหุ้นฝ่ายรัฐบาล                             100,000             10.0
             2.    บริษัท ไวดีเมียร์ จำกัด                         150,000             15.0
             3.    บริษัท เอเชีย แปซิฟิค รีซอสเซส จำกัด
                   และ/หรือ บริษัทในเครือ                      750,000             75.0
                   รวมทั้งหมด                                 1,000,000           100.0
    พ.ศ. 2549 บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์ จำกัด (มหาชน) ได้เข้าซื้อหุ้นทั้งหมดจากบริษัท เอเชีย แปซิฟิค รีซอสเซส จำกัด ในนามบริษัท สินแร่เมืองไทย จำกัด และได้ซื้อหุ้นของบริษัท
ไวดีเมียร์ จำกัดด้วย ทำให้บริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีสัดส่วนการถือหุ้นเป็นสัญชาติไทย 100% ซึ่งการปรับเปลี่ยนสัดส่วนผู้ถือหุ้นเป็นดังนี้
                                                                    จำนวนหุ้น      ร้อยละหุ้นทั้งหมด
             1.    ผู้ถือหุ้นฝ่ายรัฐบาล                             100,000             10.0
             2.    บริษัท ไวดีเมียร์ จำกัด                         150,000             15.0
                   (บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 100)      
             3.    บริษัท สินแร่เมืองไทย จำกัด                   750,000             75.0
                   (บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 100)                                                          รวมทั้งหมด                                     1,000,000     100.0                 
             ดังนั้น บริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด จึงมีสัดส่วนการถือหุ้นโดย
รัฐบาลไทยร้อยละ
10 และถือหุ้นโดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์ จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 90
    
                 บริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด มี ภาระผูกพันตามสัญญากับกระทรวงอุตสาหกรรมในการผลิตและจำหน่ายแร่โพแทชเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรภายในประเทศเป็นอันดับแรก และการกำหนดราคาที่เป็นธรรมเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ และบริษัทต้องเก็บสำรองแร่โพแทช เพื่อรองรับความต้องการในประเทศไม่น้อยกว่า 1 เดือน แล้วจึงจะส่งออกส่วนที่เกินความต้องการไปจำหน่ายแก่ตลาดต่างประเทศต่อไป
             ทั้งนี้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การจัดการแร่โพแทชของประเทศไทย กำหนดเป็นนโยบายและกำหนดแนวทางการพัฒนาแหล่งแร่โพแทชของประเทศ ดังนี้
             1.    ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ
                   1.1  สามารถตอบสนองความต้องการใช้แร่ภายในประเทศ โดยผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า เพื่อป้องกันการขาดแคลนปุ๋ยโพแทสเซียม และเกษตรกรในประเทศได้ใช้ปุ๋ยในราคาที่เป็นธรรม
                   1.2  สร้างโอกาสในการแข่งขันทางการตลาด และรักษาดุลการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนเพื่อเป็นเครื่องมือในการต่อรองการค้าระหว่างประเทศที่เป็นคู่แข่งด้านการเกษตร
                   1.3  ต้องพิจารณาถึงการพัฒนาแหล่งแร่พร้อมกับการเพิ่มมูลค่าแร่
             2.    ด้านการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
                   2.1   ศึกษา Strategic Environment Assessment; SEA เพื่อบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาแหล่งแร่โพแทชในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด
                   2.2  การทำเหมืองแร่ใต้ดินและการแต่งแร่ ควรใช้เทคโนโลยีที่สะอาด และเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
             3.    ด้านสังคม การพัฒนาแหล่งแร่โพแทชจะต้องส่งเสริมให้ดำเนินงานภายใต้กระบวนการ
มีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อป้องกันการขัดแย้งระหว่างการพัฒนาแหล่งแร่โพแทชกับชุมชนซึ่งเป็น
ผู้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาแหล่งแร่ รวมทั้งการป้องกันผลกระทบ และการชดเชยที่เป็นรูปธรรม


           ใน พ.ศ. 2554 บริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (APPC) มีความประสงค์ที่จะดำเนินการพัฒนาโครงการเหมืองแร่โพแทช คำขอประทานบัตรที่ 1-4/2547 ในพื้นที่ตำบลโนนสูง ตำบลหนองไผ่ ตำบลหนองขอนกว้าง อำเภอเมือง และตำบลห้วยสามพาด ตำบลนาม่วง อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ทั้งสิ้น 26,446 ไร่ 1 งาน 49 ตารางวา ในการดำเนินงานโครงการดังกล่าวต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ก่อนการพัฒนาโครงการ เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมถึงเสนอแนะแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกัน แก้ไข และลดผลกระทบ รวมถึงมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประชาชนที่อยู่ในบริเวณพื้นที่โครงการและบริเวณใกล้เคียงต่อไป

พื้นที่โครงการเหมืองแร่โพแทช จังหวัดอุดรธานี 1,681 ไร่

ความเป็นมาของโครงการเหมืองแร่โพแทช จังหวัดอุดรธานี Reviewed by โครงการเหมืองแร่โพแทชจังหวัดอุดรธานี on 23:38:00 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

ขับเคลื่อนโดย Blogger.