Top Ad unit 728 × 90

โครงการอุดรโปแตซ
recent

มาตรการป้องกันผลกระทบของการปนเปื้อนสารเคมีในน้ำใต้ดิน


1) โครงการได้มีการตรวจสอบคุณภาพของน้ำในพื้นที่โครงการทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน อยู่แล้วตามสถานีต่างๆ ในปัจจุบันและในระหว่างการดำเนินงานด้วย  เพื่อเก็บข้อมูลไว้ทำการศึกษาการปนเปื้อนของน้ำเกลือ ซึ่งเป็นระบบงานที่ถูกต้องแล้ว
2) การรั่วไหลของน้ำเกลือหากจะมี จะเกิดที่กองหางแร่ ซึ่งหากเกิดการรั่วไหลเมื่อใด โครงการจะทราบได้ทันทีเพราะจะไม่มีน้ำเกลือย้อนกลับเข้าบ่อเก็บน้ำเกลือ โดยในการออกแบบก่อสร้างกองหางแร่นั้น โครงการฯได้ออกแบบการปูแผ่นพลาสติกความหนาแน่นสูง (HDPE) กันซึมพร้อมท่อกรุพีอี (PE) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร อยู่ในชั้นทรายที่น้ำซึมผ่านได้ ไว้ 2 ชั้นกล่าวคือชั้นแรก (ชั้นบน) ท่อกรุพีอี (PE) จะทำหน้าที่รวบรวมน้ำเกลือจากกองหางแร่กลับไปยังบ่อน้ำเกลือ  ส่วนชั้นที่สอง (ชั้นล่าง) เป็นการป้องกันการรั่วซึมไว้อีกชั้นหนึ่งหากแผ่นพลาสติกความหนาแน่นสูง (HDPE) ชั้นแรกขาดโดยปกติแล้วจะต้องมีน้ำเกลือไหลย้อนกลับไปยังบ่อน้ำเกลือโดยผ่านท่อกรุพีอี (PE) หากมีน้ำเกลือไหลคืนเข้าบ่อน้ำเกลือโดยผ่านท่อกรุพีอี (PE) ชั้นบนก็แสดงว่าแผ่นพลาสติกความหนาแน่นสูง (HDPE) ชั้นบนยังไม่ขาด หากมีน้ำเกลือไหลคืนเข้าบ่อน้ำเกลือโดยผ่านท่อกรุพีอี (PE) ชั้นล่างก็แสดงว่าแผ่นพลาสติกความหนาแน่นสูง (HDPE) ชั้นบนขาด และตราบใดที่ยังไม่เห็นน้ำเกลือรั่วซึมออกมาจากใต้กองหางแร่ ก็แสดงว่าแผ่นพลาสติกความหนาแน่นสูง (HDPE) ด้านล่างยังไม่ขาด แต่แผ่นพลาสติกความหนาแน่นสูง (HDPE) นั้นมีความหนาถึง 2.5 มิลลิเมตร ไม่ขาดง่ายๆ หากมีการรั่วก็คงมาจากการต่อแผ่น อย่างไรก็ตามช่วงทดลอง (commissioning) คงตรวจเช็คได้ง่าย
3) การรั่วไหลของน้ำเกลือจากกองหางแร่เมื่อ แผ่นพลาสติกความหนาแน่นสูง (HDPE) ชั้นล่างขาดนั้น จะแสดงให้เห็นโดยการรั่วซึมออกมาจากใต้กอง การแก้ไขจะดำเนินเป็น 2 ขั้นตอน คือ
    3.1) ขั้นที่1 ทำการขุดร่องรอบกองหางแร่กว้าง 100 เซนติเมตร ลึก 50 เมตร รอบบ่อด้วยเครื่องมือจากประเทศเยอรมัน แล้วใส่แผ่นพลาสติกความหนาแน่นสูง (HDPE) หนา 1.5 มิลลิเมตร พร้อมส่วนผสมดินและเบนโทไนต์ (ป้องกันน้ำซึมได้ดีมาก เพราะเบนโทไนต์ผสมกับน้ำจะขยายตัวปิดการรั่วไหล) 
    3.2) ขั้นที่ 2 หากไม่มีการรั่วไหลอีกก็จบแค่ขั้นตอนที่ 1 แต่หากยังมีการรั่วไหลออกมาอีกให้เจาะแล้วเกราท์ (grouting) ด้วยซีเมนต์เพื่อให้ปิดรูโครงสร้างดินที่แตกร้าวทั้งหลาย
4) การรั่วไหลของน้ำเกลือจะไม่เกิดขึ้นที่บ่อน้ำเกลือเนื่องจากโครงสร้างบ่อเป็นคอนกรีต และพื้นจะปูด้วยพลาสติกความหนาแน่นสูง (HDPE) 2 ชั้นหนา 2.5 มิลลิเมตร ระหว่างชั้นทั้งสองจะวางท่อที่เจาะรูพรุนไว้รองรับน้ำในกรณีที่เกิดปัญหารั่วไหล น้ำเกลือก็จะถูกรวบรวมมาตามท่อ มาสัมผัสกับชุดระวังป้องกัน (Monitoring Sensor) ซึ่งจะส่งสัญญาณให้ห้องควบคุมทราบโดยอัตโนมัติ

โครงสร้างบ่อจะจัดแบ่งเป็น 6 ส่วน เพื่อในกรณีที่บ่อเกิดรั่วไหล จะได้ทำการซ่อมเป็นส่วนๆ โดยถ่ายน้ำจากส่วนที่รั่วไปยังส่วนอื่นๆ หลังจากซ่อมแล้วถ่ายกลับดังเดิม

  ข้อเสนอแนะจากบริษัทที่ปรึกษา
  การพิจารณาจากมาตรการของโครงการที่ระบุไว้ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม พบว่า ได้มีการกำหนดจุดตรวจวัดคุณภาพน้ำผิวดิน จำนวน 6 จุด คือ อ่างเก็บน้ำหนองตาล ห้วยหิน หนองอุทัย หนองบึงกุง ห้วยน้ำเค็ม ห้วยวังแสง ทางบริษัทที่ปรึกษาเห็นว่า เพื่อให้การตรวจวัดคุณภาพน้ำผิวดินบริเวณแหล่งน้ำที่มีการเคลื่อนที่ของสายน้ำมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้นจึงได้ทำการกำหนด จุดตรวจวัดคุณภาพน้ำเพิ่มเติมอีก 3 จุด คือ จุดที่ 7 ห้วยหินตอนล่าง จุดที่ 8 ห้วยน้ำเค็มตอนล่าง และจุดที่ 9 ห้วยวังแสงตอนบน รวมจุดตรวจวัดคุณภาพน้ำผิวดินทั้งสิ้นจำนวน 9 จุด ส่วนจุดตรวจวัดคุณภาพน้ำใต้ดิน จำนวน 15 จุด และมีการกำหนดบ่อสังเกตการณ์คุณภาพน้ำใต้ดินบริเวณพื้นที่โครงการ จำนวน 10 จุด ซึ่งตำแหน่งของจุดตรวจวัดต่างๆ ได้มีการกำหนดครอบคลุมทั่วพื้นที่ประทานบัตรอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องเพิ่มเติมอีก 
มาตรการป้องกันผลกระทบของการปนเปื้อนสารเคมีในน้ำใต้ดิน Reviewed by โครงการเหมืองแร่โพแทชจังหวัดอุดรธานี on 01:18:00 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

ขับเคลื่อนโดย Blogger.