Top Ad unit 728 × 90

โครงการอุดรโปแตซ
recent

การจัดการกองหางแร่


การจัดการกองหางแร่ที่โครงการออกแบบไว้มีความเหมาะสมแล้ว คือ 
1) มีพื้นที่มากกว่า 146 ไร่ เพื่อกองหางแร่ มากพอรองรับปริมาณกองหางแร่สะสมที่มากถึง 3,100,000 ลบ.ม.
2) ในการเตรียมพื้นที่กองแร่ มีการบดอัดพื้นเดิม 60 เซนติเมตร เพื่อป้องกันทรุดตัว มีการบดอัดดินเหนียว 100 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการรั่วซึมของน้ำเกลือ มีการปูแผ่นพลาสติกความหนาแน่นสูง (HDPE) หนา 2.5 มิลลิเมตร สลับกับกรวดทรายหนา 50 เซนติเมตร 2 ชั้น มีร่องระบายน้ำลงบ่อน้ำเกลือ จึงมั่นใจได้ว่าพื้นกองแร่ไม่ทรุดตัว
3) วิธีการกองหางแร่ กำหนดให้วางกองเป็นขั้นบันได สูงขั้นละ 4.5 เมตร สูงทั้งหมดไม่เกิน 27 เมตร มีความเอียงไม่เกิน 26 องศา น้อยกว่ามุมกองตัว (angle of repose) ที่ 37 องศา ประกอบกับหางแร่ที่มีเกลือ (NaCl) เป็นส่วนใหญ่เปียกน้ำเวลากองด้วย ทำให้ผิวเม็ดเกลือหางแร่ละลายยึดติดเข้าด้วยกัน ตามอิทธิพลของน้ำ กองหางแร่จึงมีเสถียรภาพมาก ไม่พังทลายไปได้
4) โครงการมีระบบตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเกลือด้วยการไหลของน้ำเกลือที่ผ่านท่อพลาสติก (PE) เข้าไปเก็บที่บ่อเก็บน้ำเกลือ หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นก็ทราบได้ว่า แผ่นพลาสติกความหนาแน่นสูง (HDPE) รั่วที่จุดใดซึ่งสามารถแก้ไขได้ โดยย้ายกองเกลือถ้ายังมีเกลือน้อย หรือทำกำแพงใต้ดิน (Slurry wall) หรือถ้ายังรั่วได้อีกก็ดำเนินการฉีดอัดซีเมนต์ (Cement Grout)
5) สำหรับเรื่องฝุ่นเกลือที่จะฟุ้งกระจายไปนั้น เมื่อน้ำหรือความชื้นทำให้ผิวของเม็ดเกลือละลายติดกันแล้ว ก็เป็นอันว่ากองหางแร่ไม่มีโอกาสเกิดฝุ่นได้เลย
6) อนึ่งเกลือแกงที่เปียกน้ำนี้จะถูกลำเลียงด้วยสายพานที่ปิดมิดชิดทุกด้าน มายังกองหางแร่ ที่มีรถตักล้อยางไว้คอยจัดการย้ายเกลือ หรือกระจายเกลือไปไปยังจุดที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความแข็งแรงในการตั้งกองหางแร่ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเมื่อเกลือได้มาเก็บไว้ที่กองหางแร่แล้วก็จะมีสภาพเปียกตลอดเวลาไม่เกิดฝุ่น
การจัดการกองหางแร่ Reviewed by โครงการเหมืองแร่โพแทชจังหวัดอุดรธานี on 00:42:00 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

ขับเคลื่อนโดย Blogger.