Top Ad unit 728 × 90

โครงการอุดรโปแตซ
recent

โครงการใช้วิธีใดในการทำเหมืองแร่ ?


วิธีการทำเหมืองแร่ใต้ดินของโครงการฯ เป็นอย่างไร ?
          วิธีการทำเหมืองของโครงการ เป็นการทำเหมืองใต้ดินแบบห้องสลับเสาค้ำยันโดยจะมีช่องทางเข้าสู่เหมืองใต้ดินเป็นอุโมงค์ลาดคู่ขนานโดยอุโมงค์หนึ่งใช้สำหรับงานบริการ การขนส่งพนักงานและวัสดุรวมทั้งการระบายอากาศเข้า ส่วนอุโมงค์สองจะใช้สำหรับการผลิตโดยจะติดตั้งระบบสาย พานลำเลียงแร่ที่ได้จากการขุด สายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ การขนวัสดุถมกลับและการระบายอากาศออก จากข้อมูล การศึกษาในส่วนของการทำเหมืองแร่โพแทชทั่วโลกที่มีลักษณะธรณีวิทยาแหล่งแร่คล้ายกับพื้นที่โครงการเหมืองแร่ โพแทชจังหวัดอุดรธานี จะใช้วิธีการทำเหมืองใต้ดินแบบห้องสลับเสาค้ำยัน เพราะเป็นวิธีการทำเหมืองแร่ที่มีประสิทธิ ภาพสามารถปรับเปลี่ยนการทำเหมือง ได้ตามสภาพธรณีวิทยาและสามารถควบคุมการทรุดของผิวดินได้ผลดีกว่าการ ทำเหมืองวิธีอื่นๆ

การทำเหมืองใต้ดินแบบห้องสลับเสาค้ำยัน


การทำเหมืองใต้ดินแบบห้องสลับเสาค้ำยันนั้น โครงการได้เลือกใช้เครื่องขุดแร่แบบต่อเนื่องขุดแร่ออกมาเพียง บางส่วนเท่านั้นโดยเหลือบางส่วนไว้เป็นเสาค้ำยันให้เหมืองมีความมั่นคงแข็งแรงนอกจากนี้ยังจะมีการเสริมความมั่นคง แข็งแรงบริเวณเพดานของห้องเหมืองด้วยเหล็กยึดหินและมีการนำหางแร่มาถมกลับในช่องว่างให้ เหมืองมีความมั่นคง แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
          แร่โพแทชที่ขุดขึ้นมาจากใต้ดินจะเป็นแร่ดิบซึ่งยังไม่สามารถนำมาใช้ได้ต้องผ่านกระบวนการแต่งแร่ คือการแยก หัวแรโพแทชออกจากสิ่งเจือปนอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกลือแกงโดยโครงการเลือกใช้การแต่งแร่ด้วยวิธีลอยแร่ คือเริ่ม จากการใช้เครื่องบดแร่ให้มีขนาดเล็กลงแล้วผ่านเครื่องลอยแร่ ซึ่งจะใช้น้ำเกลือมาทำการละลายแร่กวนให้เกิดฟอง อากาศ เติมสารละลายให้แร่โพแทชติดฟองอากาศลอยขึ้นมาด้านบน ส่วนหางแร่หรือสิ่งที่ไม่ต้องการจะจมอยู่ด้าน ล่างหลังจากนั้นหัวแร่ที่ได้จากการลอยแร่จะถูกทำให้แห้งโดยเครื่องปั่นแห้งและเครื่องอบแห้งหัวแร่อีก ส่วนหนึ่งได้จาก กระบวนการตกผลึกแร่โพแทช ซึ่งเป็นการนำเอาน้ำเกลือที่ผ่านกระบวนการลอยแร่ซึ่งมีผงแร่โพแทชขนาดละเอียด หลงเหลือปะปนอยู่นำมาเข้าเครื่องตกผลึกแร่ที่หลงเหลืออยู่จะตกผลึกเป็นหัวแร่และจะถูก นำไปรวมกับหัวแร่จากกระ บวนการลอยแร่ ซึ่งกระบวนการแต่งแร่ดังกล่าวจะดำเนินการในโรงแต่งแร่บนผิวดินที่ โครงการได้ซื้อไว้บนเนื้อที่ 1,681 ไร่ ในเขตตำบลหนองไผ่
          กระบวนการแต่งแร่ทั้งสองวิธีนี้สามารถเก็บแร่หัวแร่โพแทชได้มากกว่า 90% ส่วนหางแร่ที่เกิดขึ้นประกอบด้วย เกลือแกงเป็นส่วนใหญ่และมีสิ่งเจือปนอื่นๆ เช่น เศษดิน เศษหิน จำนวนเล็กน้อยซึ่งจะถูกนำมาผสมกับน้ำเกลือ เข้มข้นอย่างละ 50% และถูกถมกลับในลักษณะของเหลวข้นซึ่งจะจับตัวกันแข็งในเวลาต่อมา ในระยะแรกของการ ทำเหมือง บริษัทจะเก็บกองหางแร่ไว้ชั่วคราวในพื้นที่โรงแต่งแร่บนผิวดินเนื่องจากยังไม่มีช่องว่างใต้ดินที่เพียงพอต่อ การถมกลับและ ในปีที่ 5 ของการทำเหมือง หางแร่จะถูกทยอยถมกลับลงไปใต้ดินจนหมดสิ้นในปีสุดท้าย

เครื่องมือที่ใช้ในการขุดแร่ เป็นอย่างไร ?
          การดำเนินการทำเหมืองแร่ของโครงการ จะไม่มีการใช้ระเบิดในทุกขั้นตอน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการขุดแร่ เรียกว่า เครื่องขุดแร่แบบต่อเนื่อง (Continuous Miner) เป็นเครื่องจักรที่ทำงานด้วยระบบไฟฟ้า ไม่ใช้น้ำมัน โดยจะมีขนาดใหญ่ และไม่สามารถนำเข้าไปทางอุโมงค์ได้ ดังนั้น การใช้งานเครื่องขุดแร่ดังกล่าว ทางโครงการ จะต้องใช้วิธีการแยกชิ้นส่วน และลำเลียงลงไปประกอบใหม่เพื่อใช้งานในเหมืองใต้ดิน

เครื่องขุดแร่แบบต่อเนื่อง

โครงการใช้วิธีใดในการทำเหมืองแร่ ? Reviewed by โครงการเหมืองแร่โพแทชจังหวัดอุดรธานี on 01:28:00 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

ขับเคลื่อนโดย Blogger.