Top Ad unit 728 × 90

โครงการอุดรโปแตซ
recent

เมื่อสิ้นสุดการทำเหมืองพื้นที่ภายในเหมืองจะกลายเป็นที่รกร้างเสื่อมโทรมใช่หรือไม่ ?

 

      การดำเนินการทำเหมืองของโครงการย่อมส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะภูมิประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การฟื้นฟูสภาพพื้นที่หลังการทำเหมือง จึงมีความจำเป็นเพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่ดีให้กลับคืนมา แม้จะไม่คืนสู่สภาพเดิม แต่เพื่อให้มีความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมข้างเคียงมากที่สุด  กิจกรรมการฟื้นฟูสภาพเหมืองของโครงการแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1. การฟื้นฟูสภาพระหว่างการทำเหมืองด้วยการถมกลับ เพื่อช่วยเพิ่มเสถียรภาพให้กับเสาค้ำยันจากแรงดัน รอบๆ ลดการทรุดตัวของผิวดินจากการทำเหมืองใต้ดิน ตลอดจนเป็นบริหารจัดการกองเกลือบนผิวดินอีกด้วย โดย โครงการจะมีการถมกลับด้วยหางแร่ 95% ผสมกับเศษดินจากการขุดบ่อร้อย 5% ด้วยวิธีการถมกลับแบบเหลว (Slurry Backfill) ในช่วงปีที่ 5-ปีที่ 22 หลังจากเริ่มทำเหมือง อัตราการถมกลับประมาณ 90% ของปริมาตรช่องว่างใต้ดิน

2. การฟื้นฟูสภาพภายหลังสิ้นสุดการทำเหมือง เพื่อปรับปรุงสภาพพื้นที่บนผิวดินภายหลังสิ้นสุดกิจกรรมบน ผิวดินให้มีความสอดคล้องกับสภาพพื้นที่โดยรอบด้วยการปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์พื้นที่บนผิวดินภายหลังสิ้นสุดกิจกรรม บนผิวดินของโครงการ โดยจะดำเนินการบนพื้นที่บนผิวดินเป็นพื้นที่ที่ใช้ก่อสร้างโรงแต่งแร่ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวก ต่างๆ ของโครงการ อาทิ โรงแต่งแร่ โรงเก็บแร่ดิบ โรงเก็บผลิตภัณฑ์ พื้นที่อาคารสำนักงานและอาคารอื่นๆ บ่อน้ำเกลือ 2 บ่อ บ่อดักน้ำเกลือจากกองหางแร่ 1 บ่อ เป็นต้น  ด้วยการเก็บกู้อาคารต่างๆ ปรับถมพื้นที่ ปรับปรุงสภาพดิน และปลูกต้นไม้และพืชคลุมดินซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 1,681-1-16 ไร่ ตั้งอยู่บนพื้นที่คำขอประทานบัตรที่ 1/2547 และเป็นที่ดินในกรรมสิทธิ์ของโครงการ 


เมื่อสิ้นสุดการทำเหมืองพื้นที่ภายในเหมืองจะกลายเป็นที่รกร้างเสื่อมโทรมใช่หรือไม่ ? Reviewed by โครงการเหมืองแร่โพแทชจังหวัดอุดรธานี on 02:01:00 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ฟอร์มรายชื่อติดต่อ

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *

ขับเคลื่อนโดย Blogger.